ทำวัตรเช้า 7 บทสวดมนต์ กิจวัตรประจําวันของพระสงฆ์ และ พุทธศาสนิกชน นักปฎิบัติธรรมทุกคน เริ่มต้นขึ้นเมื่อเสียงระฆังดังขึ้นในเวลา ตี 3-4 เป็นเวลาตื่นนอนตอนเช้า ของพระสงฆ์ และ พุทธศาสนิกชน เมื่อถึงเวลา 4.30 น. พระทุกรูป และ พุทธศาสนิกชนทุกคน จะรวมตัวกันที่อุโบสถ เพื่อเริ่มพิธี สวดมนต์ ทำวัตรเช้า ด้วย บทสวดมนต์ ทำวัตรเช้า ทั้ง 7 บท พร้อมทั้งนั่งสมาธิเจริญวิปัสสนากรรมฐาน แล้วแผ่เมตตาเสริมบารมี ชีวิตรุ่งเรือง มั่งคั่งร่ำรวย ด้วยการสวดมนต์ ทำวัตรเช้า
บทสวดมนต์ ทำวัตรเช้า และ พระพุทธมนต์ ก็คือ พระธรรมคำสั่งสอน ที่เป็นภาษาบาลี มีความหมาย ทุกตัวอักษร มีความศักดิ์สิทธิ์ ทุกตัวอักษร จะรู้ได้ และ เข้าใจได้ ก็ต้องขึ้นอยู่ที่่ ภูมิธรรม ภูมิปัญญา ของแต่ละคน ที่่จะเข้าถึงได้ พระพุทธมนต์ เป็นบทพระธรรมคำสั่งสอน ที่เกิดขึ้นแล้วจาก พระผู้บริสุทธิ์สูงสุด มีพระปัญญาบารมีสูงสุด มีพระมหากรุณาธิคุณสูงสุด เป็นผู้ที่ทรง ความศักดิ์สิทธิ์สูงสุด เหนือสรรพสิ่งใดในโลกนี้ เพราะฉะนั้น อะไรที่เป็นสิ่งที่ พระองค์ทรงตรัส ที่พระองค์ ทรงกล่าวไว้ทุกบท ทุกตอน ทุกคำ ล้วนแต่มีความหมาย มีความศักดิ์สิทธิ์ อยู่ในตัวโดยอัตโนมัติ ฉะนั้น หากบุคคลใด ได้นำมาสวด มาสาธยาย หรือ แม้แต่ได้ยินได้ฟัง ด้วยความเคารพ และ สวดอย่างถูกตามวิธี ฟังอย่างถูกวิธี ก็ย่อมส่งผลบังเกิดผล อย่างแน่นอน
ขอบคุณวีดีโอ ทำวัตรเช้า จากช่องยูทูป : ไหว้พระสวดมนต์ ออนไลน์
7 บทสวดมนต์ ทำวัตรเช้า
1. บทสวดมนต์ ทำวัตรเช้า คำบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวา เทมิ. (กราบ)
สวาก ขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ)
สุปะฏิป ปันโน ภะคะวะโต สาวะ กะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้า ขออภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
พระธรรม เป็นธรรมที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว , ข้าพเจ้า ขอนมัสการ พระธรรม (กราบ)
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)
2. บทสวดมนต์ ทำวัตรเช้า ปุพพภาคนมการ
(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะ ภาคะ นะมะ การัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อม อันเป็นส่วนเบื้องต้น แด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เถิด
นะโม ตัสสะ ภะ คะ วะ โต,
ขอนอบน้อม แด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
อะ ระ หะ โต,
ซึ่งเป็นผู้ ไกลจากกิเลส
สัมมา สัมพุท ธัสสะ.
ตรัสรู้ ชอบได้ โดยพระองค์เอง
(กล่าว ๓ ครั้ง)
3. บทสวดมนต์ พุทธาภิถุติ
(หันทะ มะยัง พุทธา ภิถุติง กะโร มะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชย เฉพาะ พระพุทธเจ้าเถิด
โย โส ตะถา คะโต
พระตถาคต เจ้านั้น พระองค์ใด
อะ ระ หัง
เป็นผู้ไกลจาก กิเลส
สัมมา สัมพุท โธ
เป็นผู้ตรัสรู้ ชอบได้โดย พระองค์เอง
วิชชา จะ ระ ณะ สัมปันโน
เป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยวิชชา และ จรณะ
สุ คะ โต
เป็นผู้ไปแล้ว ด้วยดี
โล กะ วิทู
เป็นผู้รู้โลก อย่างแจ่มแจ้ง
อะนุต ตะโร ปุริ สะทัม มะสา ระถิ
เป็นผู้สามารถ ฝึกบุรุษ ที่สมควร ฝึกได้อย่าง ไม่มีใคร ยิ่งกว่า
สัตถา เทวะ มะนุส สานัง
เป็นครู ผู้สอน ของเทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม
ภะ คะ วา
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์
โย อิมัง โลกัง สะเท วะกัง สะมา ระกัง สะพรัหมะกัง, สัสสะ มะณะ พราหมะณิง
ปะชัง สะเทวะ มะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิ กัตวา ปะเว เทสิ
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ได้ทรงทำ ความดับทุกข์ ให้แจ้ง ด้วยพระ ปัญญาอันยิ่ง เองแล้ว,
ทรงสอนโลกนี้ พร้อมทั้ง เทวดา มาร พรหม และ หมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ,์
พร้อมทั้ง เทวดา และ มนุษย์ให้รู้ตาม
โย ธัมมัง เท เส สิ
พระผู้มี พระภาคเจ้า พระองค์ใด ทรงแสดงธรรม แล้ว
อาทิ กัลยา ณัง
ไพเราะ ในเบื้องต้น
มัชเฌ กัลยา ณัง
ไพเราะ ในท่ามกลาง
ปะริโย สานะ กัลยา ณัง
ไพเราะ ในที่สุด
สาตถัง สะพยัญ ชะนัง เกวะละ ปะริ ปุณณัง ปะริ สุทธัง พรัหมะ จะริยัง ปะกา เสสิ
ทรงประกาศ พรหมจรรย์ คือ แบบแห่งการปฏิบัติ อันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง,
พร้อมทั้งอรรถะ (คำอธิบาย) พร้อมทั้งพยัญชนะ (หัวข้อ)
ตะมะหัง ภะคะ วันตัง อะภิปู ชะยามิ
ข้าพเจ้า บูชาอย่างยิ่ง เฉพาะ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
ตะมะหัง ภะคะ วันตัง สิระ สา นะมา มิ
ข้าพเจ้า นอบน้อม พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า
(กราบระลึก พระพุทธคุณ)
4. บทสวดมนต์ ธัมมาภิถุติ
(หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชย เฉพาะพระธรรมเถิด
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษา และ ปฏิบัติพึงเห็นได้ ด้วยตนเอง
อะกา ลิโก
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และ ให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล
เอหิ ปัสสิ โก
เป็นสิ่งที่ควรกล่าว กะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดู เถิด
โอ ปะนะ ยิโก
เป็นสิ่งที่ ควรน้อม เข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิ ตัพโพ วิญญูู หิ
เป็นสิ่งที่ ผู้รู้ ก็รู้ได้ เฉพาะตน
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปู ชะยา มิ
ข้าพเจ้า บูชาอย่างยิ่ง เฉพาะ พระธรรมนั้น
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมา มิ
ข้าพเจ้า นอบน้อม พระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า
(กราบระลึกพระธรรมคุณ)
5. บทสวดมนต์ สังฆาภิถุติ
หันทะ มะยัง สังฆา ภิถุติง กะโร มะ เส
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชย เฉพาะ พระสงฆ์เถิด
โย โส สุปะฏิ ปันโน ภะคะ วะโต สาวะ กะสังโฆ
สงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า นั้นหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุ ปะฏิปันโน ภะคะ วะโต สาวะ กะสังโฆ
สงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะ ปะฏิปันโน ภะคะ วะโต สาวะ กะสังโฆ
สงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์ แล้ว
สามี จิปะฏิ ปันโน ภะคะ วะโต สาวะ กะสังโฆ
สงฆ์สาวก ของ พระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง
ได้แก่ บุคคลเหล่านี้ คือ
จัตตาริ ปุริสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะ ปุคคะลา
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
* สี่คู่ คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล, สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล,
อนาคามิมรรค อนาคามิผล, อรหัตตมรรค อรหัตตผล
เอสะ ภะคะ วะโต สาวะ กะสังโฆ
นั่นแหละ สงฆ์สาวก ของ พระผู้ มีพระภาคเจ้า
อาหุ เนยโย
เป็นสงฆ์ ควรแก่ สักการะ ที่เขานำมา บูชา
ปาหุ เนยโย
เป็นสงฆ์ ควรแก่ สักการะ ที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิ เณยโย
เป็นผู้ควร รับทักษิณา ทาน
อัญชะลี กะระณี โย
เป็นผู้ที่ บุคคล ทั่วไปควร ทำอัญชลี
อะนุต ตะรัง ปุญญัก เขตตัง โลกัสสะ
เป็นเนื้อนาบุญ ของโลก, ไม่มีนาบุญ อื่นยิ่งกว่า
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปู ชะยามิ
ข้าพเจ้า บูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์ หมู่นั้น
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ
ข้าพเจ้า นอบน้อม พระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า
(กราบระลึกพระสังฆคุณ)
6. บทสวดมนต์ รตนัตตยัปปณามคาถา
(หันทะ มะยัง ระตะนัต ตะยัป ปะณา มะคาถาโย เจวะ
สังเวคะ วัตถุ ปะริ กิตตะนะ ปาฐัญจะ ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย กล่าวคำนอบน้อม พระรัตนตรัย และ บาลีที่กำหนด วัตถุเครื่องแสดง ความสังเวชเถิด
พุทโธ สุสุทโธ กะรุณา มะหัณ ณะโว
พระพุทธเจ้า ผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณา ดุจห้วงมหรรณพ
โยจจันตะ สุทธัพ พะระ ญาณะโล จะโน
พระองค์ใด มีตา คือ ญาณอันประเสริฐ หมดจดถึงที่สุด
โลกัสสะ ปาปู ปะกิเลสะ ฆาตะ โก
เป็นผู้ฆ่าเสีย ซึ่งบาป และ อุปกิเลส ของโลก
วันทามิ พุทธัง อะหะ มาทะ เรนะ ตัง
ข้าพเจ้า ไหว้ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
ธัมโม ปะที โป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน
พระธรรม ของ พระศาสดา สว่างรุ่งเรือง เปรียบดวงประทีป
โย มัคคะ ปากา มะตะ เภทะ ภินนะ โก
จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน, ส่วนใด
โลกุต ตะโร โย จะ ตะทัต ถะที ปะโน
ซึ่งเป็นตัว โลกุตตระ, และ ส่วนใด ที่ชี้แนว แห่งโลกุตตระ นั้น
วันทามิ ธัมมัง อะหะ มาทะ เรนะ ตัง
ข้าพเจ้า ไหว้พระธรรม นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
สังโฆ สุเขตตา ภยะติ เขตตะ สัญญิ โต
พระสงฆ์ เป็นนาบุญ อันยิ่งใหญ่ กว่านาบุญอันดี ทั้งหลาย
โย ทิฏฐะ สันโต สุคะตา นุโพธะ โก
เป็นผู้เห็น พระนิพพาน, ตรัสรู้ ตามพระสุคต, หมู่ใด
โลลัป ปะหีโน อะริโย สุเมธะ โส
เป็นผู้ละกิเลส เครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี
วันทามิ สังฆัง อะหะ มาทะ เรนะ ตัง
ข้าพเจ้า ไหว้ พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
อิจเจวะ เม กันตะ ภิปู ชะเนย ยะกัง, วัตถุต ตะยัง วันทะ ยะตา ภิสัง ขะตัง,
ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุ ปัททะวา,มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะ สิทธิยา
บุญใดที่ ข้าพเจ้า ผู้ไหว้อยู่ ซึ่งวัตถุสาม, คือ พระรัตนตรัย อันควรบูชายิ่ง โดยส่วนเดียว,
ได้กระทำแล้ว เป็นอย่างยิ่งเช่นนี้, ขออุปัทวะ(ความชั่ว) ทั้งหลาย,
จงอย่ามี แก่ข้าพเจ้า เลย, ด้วยอำนาจความสำเร็จ อันเกิดจากบุญ นั้น
7. บทสวดมนต์ สังเวคปริกิตตนปาฐะ
อิธะ ตะถา คะโต โลเก อุปปัน โน
พระตถาคตเจ้า เกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ
เป็นผู้ไกล จากกิเลส ตรัสรู้ ชอบได้โดยพระองค์เอง
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยา นิโก
และ พระธรรม ที่ทรงแสดง เป็นธรรม เครื่องออกจากทุกข์
อุปะสะ มิโก ปะริ นิพพา นิโก
เป็นเครื่อง สงบกิเลส เป็นไปเพื่อ ปรินิพพาน
สัมโพธะ คามี สุคะ ตัปปะ เวทิโต
เป็นไปเพื่อ ความรู้พร้อม, เป็น ธรรมที่ พระสุคตประกาศ
มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานา มะ
พวกเรา เมื่อได้ฟังธรรม นั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า ฃ
ชาติปิ ทุกขา, แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิ ทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะ ปะริ เทวะ ทุกขะ โทมะนัส สุปายา สาปิ ทุกขา,
แม้ความโศก ความร่ำไร รำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
อัปปิ เยหิ สัมปะ โยโค ทุกโข
ความประสบ กับสิ่งไม่เป็น ที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะ โยโค ทุกโข,
ความพลัดพราก จากสิ่ง เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,
มีความปรารถนา สิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
สังขิต เตนะ ปัญจุ ปาทา นักขันธา ทุกขา,
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์
เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
รูปู ปาทา นักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้ง แห่งความยึดมั่น คือ รูป
เวทะนู ปาทา นักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้ง แห่งความยึดมั่น คือ เวทนา
สัญญูปาทา นักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา
สังขา รูปา ทานัก ขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้ง แห่งความยึดมั่น คือ สังขาร
วิญญาณู ปาทา นักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้ง แห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ
เยสัง ปะริญ ญายะ,
เพื่อให้สาวก กำหนดรอบรู้ อุปาทานขันธ์ เหล่านี้ เอง,
ธะระมาโน โส ภะคะวา,
จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,
ย่อมทรงแนะนำ สาวกทั้งหลาย เช่นนี้ เป็นส่วนมาก
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะ วะโต สาวะ เกสุ อะนุ สาสะนี พะหุลา ปะวัตติ ตะติ,
อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย, ส่วนมาก, มีส่วนคือ การจำแนกอย่างนี้ว่า
รูปัง อะนิจจัง, รูปไม่เที่ยง
เวทะนา อะนิจจา, เวทนาไม่เที่ยง
สัญญา อะนิจจา, สัญญาไม่เที่ยง
สังขารา อะนิจจา, สังขารไม่เที่ยง
วิญญาณัง อะนิจจัง, วิญญาณไม่เที่ยง
รูปัง อะนัตตา, รูป ไม่ใช่ ตัวตน
เวทะนา อะนัตตา, เวทนา ไม่ใช่ตัวตน
สัญญา อะนัตตา, สัญญา ไม่ใช่ตัวตน
สังขารา อะนัตตา, สังขาร ไม่ใช่ตัวตน
วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณ ไม่ใช่ตัวตน
สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สังขารทั้งหลาย ทั้งปวง ไม่เที่ยง
สัพเพ ธัมมา อะนัต ตาติ, ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้.
เต (ตา) มะยัง โอติณณา มหะ,
พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำ แล้ว
ชาติยา,โดยความเกิด
ชะรามะระเณนะ, โดยความแก่และความตาย
โสเกหิ ปะริ เทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัส เสหิ อุปยา เสหิ,
โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ทั้งหลาย
ทุกโข ติณณา, เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว
ทุกขะ ปะเรตา, เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว
อัปเป วะนา มิมัสสะ เกวะ ลัสสะ ทุกขัน ขันธัสสะ อันตะ กิริยา ปัญญา เยถาติ.
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ จะพึ่งปรากฏชัด แก่เราได้.
สำหรับพระภิกษุและสามเณรสวด
จิระ ปะรินิพพุ ตัมปิ ตัง ภะคะ วันตัง อุททิสสะ อะระหัน ตัง สัมมา สัมพุทธัง
เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไกลจากกิเลส
ตรัสรู้ชอบ โดยพระองค์เอง แม้ปรินิพพาน นานแล้ว พระองค์นั้น
สัทธา อะคา รัสมา อะนะ คาริยัง ปัพพะ ชิตา
เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว
ตัสมิง ภะคะ วะติ พรัห์มะ จะริยัง จะรา มะ
ประพฤติซึ่งพรหมจรรย์ ในคำสอนของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ภิกขูนัง สิกขา สาชีวะ สะมา ปันนา
ถึงพร้อมด้วยสิกขา และ ธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต ของภิกษุทั้งหลาย
ตัง โน พรัห์มะ จะริยัง อิมัสสะ เกวะ ลัสสะ ทุกขัก ขันธัสสะ อันตะ กิริยายะ สังวัต ตะตุ
ขอให้พรหมจรรย์ ของเราทั้งหลายนั้น จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุด แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ ฯ
สำหรับอุบาสก อุบาสิกาสวด
จิระ ปะรินิพพุ ตัมปิ ตัง ภะคะ วันตัง สะระณัง คะตา,
เราทั้งหลาย ผู้ถึงแล้ว ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ,
ถึงพระธรรมด้วย, ถึงพระสงฆ์ด้วย
ตัสสะ ภะคะ วะโต สาสะนัง ยะถา พะลัง มะ นะ สิกะโรมะ อะนุ ปะฏิปัชชา มะ,
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า นั้นตามสติกำลัง
สา สา โน ปะฏิปัตติ,
ขอให้ ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย
อิมัสสะ เกวะ ลัสสะ ทุกขัก ขันธัสสะ อันตะ กิริยายะ สังวัต ตะตุ.
จงเป็นไป เพื่อการทำที่สุด แห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.
” จบ บทสวดมนต์ ทำวัตรเช้า “
หลังจากสวดมนต์ ทำวัตรเช้า แล้ว ควรนั่งสมาธิ เจริญวิปัสสนา กรรมฐาน เป็นเวลา 15 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
แล้วจึงกล่าว คำกรวดน้ำ และ คำแผ่เมตตา
คำกล่าวสมาทานสมาธิ
อุกาสะ อุกาสะ ณ โอกาสบัดนี้ ข้าพเจ้า ขอสมาทาน ซึ่ง พระกรรมฐาน ขอ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ
อัปปนาสมาธิ พระวิปัสสนาญาณ จงบังเกิดมี ในขันธ สันดาน ของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้า จะตั้งสติไว้ ที่ลมหายใจ เข้า-ออก หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้
สามหน และ เจ็ดหน ร้อยหน และ พันหน นับตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป เทอญ
บทกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล หรือ บทกรวดน้ำอิมินา
อิมินา ปุญญะ กัมเม นะ อุปัชฌา ยา คุณุต ตะรา
ด้วยบุญนี้ อุททิศให้ อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ
อาจะ ริยู ปะกา ราจะ มาตา ปิตา จะ ญาตะ กา ( ปิยา มะมัง )
และ อาจารย์ ผู้เกื้อหนุน ทั้งพ่อแม่ และ ปวงญาติ
สุริโย จันทิมา ราชา คุณะ วันตา นะราปิ จะ
สูรย์จันทร์ และ ราชา ผู้ทรงคุณ หรือ สูงชาติ
พรัหมะ มารา จะ อินทา จะ โลกะ ปาลา จะ เทวะ ตา
พรหม มาร และ อินทราช ทั้งทวยเทพ และ โลกบาล
ยะโม มิตตา มะ นุสสา จะ มัชฌัตตา เวริ กาปิ จะ
ยมราช มนุษย์มิตร ผู้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญา นิ ปะกะ ตานิ เม
ขอให้ สุขศานติ์ ทุกทั่วหน้า อย่าทุกข์ทน
บุญผอง ที่ข้าทำ จงอำนวยศุภผล
สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเป ถะ โว มะตัง
ให้สุขสามอย่างล้น ให้ลุ ถึงนิพพานพลัน
อิมินา ปุญญะ กัมเมนะ อิมินา อุททิ เสนะ จะ
ด้วยบุญนี้ ที่เราทำ และ อุทิศให้ ปวงสัตว์
ขิป ปังหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุ ปาทา นะ เฉ ทะนัง
เราพลันได้ ซึ่งการตัด ตัวตัณหา อุปาทาน
เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะ โต มะมัง
สิ่งชั่วในดวงใจ กว่าเราจะถึงนิพพาน
นัสสันตุ สัพพะ ทา เยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว
มลายสิ้นจาก สันดาน ทุก ๆ ภพ ที่เราเกิด
อุชุ จิตตัง สะติ ปัญญา สัลเลโข วิริยัม หินา
มีจิตตรง และ สติปัญญา อันประเสริฐ
พร้อมทั้ง ความเพียรเลิศ เป็นเครื่องขูด กิเลสหาย
มารา ละภันตะ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม
โอกาส อย่าพึงมี แก่ หมูมารทั้งสิ้น ทั้งหลาย
เป็นช่อง ประทุษร้าย ทำลายล้าง ความเพียรจม
พุทธา ทิปะวะโร นา โถ ธัมโม นา โถ วะรุต ตะโม
พระพุทธ ผู้วรนาถ พระธรรม ที่พึ่งอุดม
นาโถ ปัจเจ กะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถต ตะโร มะมัง
พระปัจเจกะ พุทะ สมทบ พระสงฆ์ ที่ผึ่งพยอง
เตโสต ตะมา นุภาเวนะ มา โร กา สัง ละภันตุ มา
ด้วยอานุภาพ นั้น อย่าเปิดโอกาส ให้แก่มาร (เทอญ)
บทแผ่เมตตาให้ตนเอง
อะ หัง สุ ขิ โต โห มิ
ขอให้ ข้าพเจ้า มีความสุข
อะ หัง นิท ทุก โข โห มิ
ขอให้ ข้าพเจ้า ปราศจากความทุกข์
อะ หัง อะ เว โร โห มิ
ขอให้ ข้าพเจ้า ปราศจากเวร
อะ หัง อัพยา ปัชโฌ โห มิ
ขอให้ ข้าพเจ้า ปราศจากอุปสรรคอันตราย ทั้งปวง
สุ ขี อัต ตา นัง ปะ ริ หะ รา มิ
ขอให้ ข้าพเจ้า จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษากายวาจาใจ ให้พันจากความทุกข์ภัย ทั้งปวงเถิด
บทแผ่เมตตาให้ผู้อื่น หรือ บทแผ่เมตตาทั่วไป
สัพ เพ สัต ตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมด ทั้งสิ้น
อะ เว รา โหน ตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กัน และ กันเลย
อัพ พะ ยา ปัช ฌา โหน ตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ เบียดเบียน ซึ่งกัน และ กันเลย
อะ นี ฆา โหน ตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุ ขี อัต ตา นัง ปะ ริ หะ รัน ตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตน ให้พ้นจาก ทุกข์ภัย ทั้งหมดทั้งสิ้น เทอญ
อานิสงส์ของการสวดมนต์ ทำวัตรเช้า
ผู้ที่สวดมนต์ ทำวัตรเช้า ด้วยความตั้งใจจริง และ สวดมนต์เป็นประจำทุกวัน ย่อมได้รับอานิสงส์ผลบุญ จากการสวดมนต์ ดังนี้
สวดมนต์ทำวัตรเช้า ช่วยให้สุขภาพดี การสวดมนต์ช่วยฝึกลมหายใจ ช่วยให้ปอดได้ทำงานอย่างเต็มที่ เมื่อปอดทำงานเต็มที่ เลือดลมก็เดินสะดวก ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
สวดมนต์ทำวัตรเช้า ช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด การสวดมนต์แบบตั้งใจ จิตใจจดจ่ออยู่กับ บทสวดมนต์ ทำให้หยุดคิดเรื่องเครียดต่างๆ เมื่อจิตใจสงบก็จะช่วยผ่อนคลายความเครียดได้
สวดมนต์ทำวัตรเช้า ช่วยเพิ่มความอดทน การสวดมนต์ต้องใช้ความอดทน เพื่อเอาชนะอาการปวดเมื่อย ของร่างกาย ผู้สวดมนต์จะนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ทำให้ฝึกความอดทน ยิ่งสวดมนต์บ่อย ความอดทนก็จะมีมากยิ่งขึ้น
สวดมนต์ทำวัตรเช้า ช่วยให้ จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ สามารถทำงานที่ยาก ได้อย่างง่ายดาย ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ด้วยสมาธิที่ดีขึ้น
สวดมนต์ทำวัตรเช้า ช่วยเพิ่มบุญบารมี ในขณะสวดมนต์ จิตใจปราศจากกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดบุญบารมี บุญบารมีนี้จะช่วยให้บรรลุผลตามที่เราต้องการได้
สวดมนต์ทำวัตรเช้า แล้วมีจิตใจอ่อนโยนมีเมตตา การแผ่เมตตา หลังการสวดมนต์ ช่วยลดความเห็นแก่ตัว ช่วยกำจัดความโกรธในใจ ให้ลดน้อยลง เมื่อจิตใจปราศจากความโกรธ มีแต่ความสุข ก็จะให้อภัยซึ่งกัน และ กัน
สวดมนต์ ทำวัตรเช้า แล้วแคล้วคลาดปลอดภัย เดินทางปลอดภัย ผู้ที่สวดมนต์เป็นประจำจะมีสติและสมาธิดีกว่าคนทั่วไป เมื่อเกิดเหตุร้าย แบบไม่คาดคิด จะสามารถเอาตัวรอดได้ ด้วยสติ และ ผลบุญจากการสวดมนต์
เป็นบทสวดมนต์ทำวัตรเช้าที่ยาวมากค่ะ แต่พอได้ทดลองปฎิบัติจริงแค่ครึ่งชั่วโมงก็สวดเสร็จล่ะ สวดแล้วรู้สึกสบายใจ
ขอบคุณมากค่ะ