สุภาษิต หมวด ข อักษรตัวที่ 2 ของภาษาไทย สุภาษิต สำนวนไทย ขึ้นต้นด้วย อักษร ข มีมากมาย ตัวอย่าง สุภาษิตที่ใช้บ่อย เช่น ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า, ขายผ้าเอาหน้ารอด, ขี่ช้างจับตั๊กแตน, ขิงก็รา ข่าก็แรง, เข็นครกขึ้นภูเขา เป็นต้น วันนี้จะนำเสนอ สุภาษิต หมวด ข พร้อมความหมาย ดังต่อไปนี้
49 สุภาษิต สำนวนไทย หมวด ข
ขนทรายเข้าวัด หมายถึง หาประโยชน์ให้ส่วนรวม ทำประโยชน์ให้ส่วนรวม
ขนมพอผสมกับน้ำยา หมายถึง ของที่มีอัตราส่วนที่พอดี พอๆกัน ไม่ด้อยไปกว่ากัน
ขนหน้าแข้งไม่ร่วง หมายถึง ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน (ใช้แก่คนมั่งมีที่ต้องจ่ายเงินแม้จะมากแต่ก็ดูเหมือนเป็นจํานวนเล็ก ๆ น้อย ๆ)
ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า หมายถึง บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ
ข่มเหงคะเนงร้าย หมายถึง รังแกและคอยคิดทำร้ายผู้ที่อ่อนแอกว่าเสมอ
ขมิ้นกับปูน หมายถึง ชอบทะเลาะวิวาทกันอยู่เสมอ, ไม่ถูกกัน, เข้ากันไม่ได้
ขว้างงูไม่พ้นคอ หมายถึง ทำสิ่งใดแล้วมีผลร้าย ย้อนกลับ มาสู่ตัวเอง
ขวานผ่าซาก หมายถึง โผงผางไม่เกรงใจใคร, พูดจาตรงไปตรงมาจนดูทื่อ ๆ
ของหายตะพายบาป หมายถึง ของหายหรือเข้าใจว่าหายแล้วเที่ยวโทษผู้อื่นที่ไม่ได้เอาไป
ข้าเก่าเต่าเลี้ยง หมายถึง ลูกน้อง คนงาน หรือ คนรับใช้ ที่รับใช้มานาน
ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง หมายถึง ของที่ดูภายนอกแล้วสวยงามดีแต่แท้จริงแล้วภายในไม่ดีเลย
ขายผ้าเอาหน้ารอด หมายถึง ยอมเสียสละ สิ่งของสำคัญของตน เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนเอาไว้
ข้าวแดงแกงร้อน หมายถึง บุญคุณ, บุญคุณที่ผู้มีพระคุณเคยให้ความช่วยเหลือ
ข้าวยากหมากแพง หมายถึง ภาวะขาดแคลนอาหาร, ทุพภิกขภัย, สภาวะที่อาหารหายากและมีราคาแพง
ข้าวใหม่ปลามัน หมายถึง อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือว่าดี นิยมใช้กับ สามี-ภรรยา ที่เพิ่งแต่งงานกัน
ขิงก็รา ข่าก็แรง หมายถึง ต่างคนต่างไม่ยอมกัน อารมณ์ร้อนพอๆกัน
ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น หมายถึง ทำสิ่งไม่สมควรให้ผู้น้อยเห็น
ขี้เกียจสันหลังยาว หมายถึง ขี้เกียจ เอาแต่นอน
ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง ลงทุนมาก แต่กลับได้ผลตอบแทน อันน้อยนิด
ขี่ช้างอย่าวางขอ หมายถึง ผู้ที่มีลูกน้องใต้บังคับบัญชา ต้องหมั่นกวดขันเอาใจใส่ ให้อยู่ในระเบียบวินัย
ขี้เถ้ากลบเพชร หมายถึง ทำดีแต่ในตอนแรก ภายหลังมาทำไม่ดี หรือทำเสีย
ขี้แพ้ชวนตี หมายถึง แพ้ตามกติกาแล้ว ยังไม่ยอมรับว่าแพ้ จะเอาชนะด้วยกำลัง ชวนทะเลาะ
ขี้ไม่ให้หมากิน หมายถึง ขี้เหนียว, ตระหนี่เหนียวแน่น
ขี้หมูขี้หมา หมายถึง ไร้สาระ ไร้ประโยชน์ เล็กๆ น้อยๆ ทั่วไป
ขี้หมูรา ขี้หมาแห้ง หมายถึง เรื่องเล็กๆน้อยๆ
ขี้ใหม่หมาหอม หมายถึง ของใหม่ที่ใคร ๆ ก็เห่อ
ขึ้นต้นไม้สุดยอด หมายถึง ขึ้นถึงตำแหน่งสูงสุดแล้ว, หมดทางต่อไป
ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา หมายถึง แสดงอาการเหยียดหยาม ย่ำยีด้วยสายตาและทางวาจา
ขุดบ่อล่อปลา หมายถึง ทำอุบายหลอกล่อให้อีกฝ่ายหลงเชื่อ เพื่อหวังผลประโยชน์จากเขา
ขุนไม่ขึ้น หมายถึง เลี้ยงไม่เชื่อง, เนรคุณ
ขุนไม่เชื่อง หมายถึง เนรคุณ
เข็นครกขึ้นภูเขา หมายถึง การทำงานที่ยากลำบาก ต้องใช้ความเพียรพยายาม และ ความอดทนสูง
เข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ย หมายถึง บุคคล หรือ สิ่งของ ที่เข้ากันได้ดี
เข้าด้ายเข้าเข็ม หมายถึง ใกล้จะสำเร็จ ถ้าทำผิดพลาดหรือมีอะไรมาขัดจังหวะแม้เพียงเล็กน้อยก็เสียการ หรือไม่สำเร็จได้
เข้าตาจน หมายถึง หมดทางไป หมดทางที่จะแก้ไข หมดหนทางหากิน เจอปัญหาหนักจนหมดหนทางแก้ไข
เข้าตามตรอก ออกทางประตู หมายถึง การทำตามธรรมเนียมประเพณี ทำอะไรให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี
เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า หมายถึง ให้มีความรอบคอบอย่าประมาท เช่นเดียวกับเวลาจะเข้าป่าจะต้องหามีดติดตัวไปด้วย
เข้าเนื้อ หมายถึง ขาดทุน เสียเปรียบ
เข้าฝูงหงส์เป็นหงส์ เข้าฝูงกาเป็นกา หมายถึง อยู่ในที่แบบไหน ก็ทำตัวเป็นเช่นนั้น ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง
เข้าพกเข้าห่อ หมายถึง เก็บไว้เป็นประโยชน์ส่วนตน
เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม หมายถึง ประพฤติตนให้เหมาะสมกับกาลเทศะ ไม่ทำตัวแปลกแยก แตกต่างจากคนอื่น
เข้ารกเข้าพง หมายถึง พูดหรือทำผิด ๆ ถูก ๆ เพราะไม่มีความชำนาญ มีแต่จะทำให้เสียหายยิ่งขึ้น
เข้าร่องเข้ารอย หมายถึง ถูกทาง, ถูกแบบแผนที่วางไว้
เข้าไส้ หมายถึง ถึงอกถึงใจ ถึงแก่น ถึงที่สุด
เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา หมายถึง บอกหรือสอนไม่ได้ผล พูดไม่รู้ฟัง
เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า หมายถึง ทำดีแต่แรก แล้วมาทำเสียตอนหลัง, คนที่ทำดีตั้งแต่แรก แล้วมาทำชั่วภายหลัง
เขียนเสือให้วัวกลัว หมายถึง หลอก ขู่ กระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ฝ่ายตรงกันข้าม เสียขวัญ หรือ เกรงขาม
แขนซ้ายแขนขวา หมายถึง บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ที่คอยเป็นมือไม้แทน
ไข่ในหิน หมายถึง สิ่งของที่ต้องระมัดระวัง ทะนุถนอม และ หวงแหนอย่างยิ่ง
สุภาษิต เรียงตามหมวดอักษร
วีดีโอ สุภาษิต หมวด ข
ขอบคุณวีดีโอจากช่อง : สอบข้าราชการ