บทสวดธรรมจักร ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี และ ได้แสดง ปฐมนิเทศนา ที่เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือ ที่เรียกว่าสั้นๆว่า บทสวดธรรมจักร แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันโดย บทสวดธรรมจักร ได้กล่าวถึงหลักธรรมสำคัญ 2 ประการคือ
1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ไม่เคร่งครัด หรือ หย่อนยานมากเกินไป
เป็นการดำเนินชีวิต ด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติ 8 ประการ เรียกว่า มรรคมีองค์แปด
2. อริยสัจสี่ คือ ความจริง 4 ประการแห่้งทุกข์ ได้แก่ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์
และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์
ขอบคุณวีดีโอจากช่องยูทูป : ทัตเทพ เพชรทอง : Thutthep Phetchthong
การสวดมนต์ บทสวดธรรมจักร ควรสวดแบบมีคำแปลด้วย เนื่องจากเป็นบทสวดที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
ถ้าเราสวดด้วยความเข้าใจ จะทำให้เข้าถึงพระธรรมได้อย่างลึกซึ้ง บทสวดธรรมจักร ที่ทรงแสดงไว้ มีดังต่อไปนี้
บทขัด บทสวดธรรมจักร ธัมจักกัปปวัตนสูตร
บทขัด บทสวดธรรมจักร ใช้สวดก่อนเริ่มสวด บทสวดธรรมจักร ฉบับเต็ม เพื่อให้รู้ว่า กำลังจะขึ้นสวดบทอะไรต่อไป
บทขัดธรรมจักรกัปปวัตนสูตร มีไว้เพื่อให้ทราบว่าที่มาของบทสวดนี้มีที่มาอย่างไร
อะนุต ตะรัง อะภิ สัมโพธิง สัมพุช ฌิตวา ตะถา คะโต
ปะฐะมัง ยัง อะเท เสสิ ธัมมะจักกัง อะนุต ตะรัง
สัมมะ เทวะ ปะวัต เตนโต โลเก อัปปะ ฏิวัตติยัง
ยัตถาก ขาตา อุโภ อันตา ปะฎิ ปัตติ จะ มัชฌิมา
จะตู สวาริยะ สัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะ ทัสสะนัง
เทสิตัง ธัมมะ ราเชนะ สัมมา สัมโพธิ กิตตะนัง
นาเมนะ วิสสุตัง สุตตัง ธัมมะจักกัปปะ วัตตะนัง
เวยยา กะระณะ ปาเฐนะ สังคี ตันตัม ภะฌา มะ เส ฯ
บทสวดธรรมจักร กัปปวัตนสูตรพร้อมคำแปล
บทสวดธรรมจักร พร้อมคำแปล เป็นบทสวดมนต์ที่ยาวมาก แต่ถ้าตั้งใจสวดแล้ว จะเข้าใจลึกซึ้งถึงคำสั่งสอนของ
องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าฯ
เอวัมเม สุตัง ,ข้าพเจ้า คือ พระอานนท์ เถระ ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ,สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
พาราณะ สิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะ ทาเย ฯ ,เสด็จประทับอยู่ที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามัน เตสิ ฯ ,ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเตือน พระปัญจวัคคีย์ อย่างนี้ว่า
เทวเม ภิกขะเว อันตา ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ เหล่าอย่างนี้
ปัพพะ ชิเตนะ นะ เสวิ ตัพพา ,อันบรรพชิตไม่ควรเสพ
โย จายัง กาเมสุ กามะ สุขัล ลิกานุ โยโค ,คือ การประกอบตน ให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใด
หีโน ,เป็นธรรมอันเลว
คัมโม ,เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน
โปถุชชะ นิโก ,เป็นของคนผู้มี กิเลสหนา
อะนะ ริโย ,ไม่ใช่ของคนไปจากข้าศึก คือ กิเลส
อะนัตถะ สัญหิโต ,ไม่ประกอบไปด้วย ประโยชน์
โย จายัง อัตตะ กิละมะถา นุโยโค ,คือ ประกอบความเหน็ดเหนื่อย ด้วยตนเหล่านี้ใด
ทุกโข ,ให้เกิดทุกข์ แก่ผู้ประกอบ
อะนะริโย ,ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส
อะนัตถะ สัญหิโต ,ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์อย่างหนึ่ง
เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะ คัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ,ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น
ตะถา คะเตนะ อะภิ สัมพุทธา ,อันตถาคต ได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญา อันยิ่ง
จักขุ กะระณี ญาณะ กะระณี ,กระทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้
อุปะ สะมายะ อะภิญญายะ สัมโพ ธายะ นิพพา นายะ สังวัต ตะติ ฯ ,ย่อมเป็นไปเพื่อ เข้าไปสงบ ระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ
กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้นเป็นไฉน
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ,ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ,กระทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ ,ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ ,ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง
เสยยะถีทัง ,ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
(หลักปฏิบัติ 8 ประการ เรียกว่า มรรคแปด)
1. สัมมาทิฏฐิ ,ปัญญาอันเห็นชอบ
2. สัมมาสังกัปโป ,ความดำริชอบ
3. สัมมาวาจา ,วาจาชอบ
4. สัมมากัมมันโต ,การงานชอบ
5. สัมมาอาชีโว ,เลี้ยงชีวิตชอบ
6. สัมมาวายาโม ,ความเพียรชอบ
7. สัมมาสะติ ,การระลึกชอบ
8. สัมมาสะมาธิ ,ความตั้งจิตชอบ
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลข้อ ปฏิบัติที่เป็นกลางนั้น
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ,ที่ตถาคต ได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ,กระทำดวงตา คือ กระทำญาณเครื่องรู้
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ ,ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ
(อริยสัจ 4 > ทุกข์)
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ
ชาติปิ ทุกขา ,แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา ,แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิ ทุกขัง ,แม้ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา ,แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ,ความประสบพบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ,ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง ,มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ ,ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุให้ทุกข์อย่างแท้จริง คือ
(อริยสัจ 4 > สมุทัย/เหตุแห่งทุกข์)
ยายัง ตัณหา ,ความทะยานอยากนี้ใด
โปโนพภะวิกา ,ทำให้มีภพอีก
นันทิราคะสะหะคะตา ,เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
ตัตระ ตัตราภินันทินี ,เพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ
เสยยะถีทัง ,ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
กามะตัณหา ,ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่
ภะวะตัณหา ,ความทะยานอยากในความมี ความเป็น
วิภะวะตัณหา ,ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์
โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ ,ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละใด
(อริยสัจ 4 > นิโรธ/ความดับทุกข์)
จาโค ,ความสละตัณหานั้น
ปะฏินิสสัคโค ,ความวางตัณหานั้น
มุตติ ,การปล่อยตัณหานั้น
อะนาละโย ,ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จ้ริง คือ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ,ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง
เสยยะถีทัง ,ได้แก่ สิ่งเหล่านี้ คือ
(อริยสัจ 4 > มรรค/แนวปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับทุกข์)
สัมมาทิฏฐิ ,ปัญญาอันเห็นชอบ
สัมมาสังกัปโป ,ความดำริชอบ
สัมมาวาจา ,วาจาชอบ
สัมมากัมมันโต ,การงานชอบ
สัมมาอาชีโว ,ความเลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายาโม ,ความเพียรชอบ
สัมมาสะติ ,ความระลึกชอบ
สัมมาสะมาธิ ,ความตั้งจิตชอบ
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่เป็นทุกข์อริยสัจ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล เราได้กำหนดรู้แล้ว
อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุจักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราละได้แล้ว
อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ,ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว
อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล อันเราเจริญแล้ว
ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้ตามความเป็นจริงอย่างไร ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว
เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปพร้อมด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ทั้งในสมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น
ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ปัญญาอันเห็นตามเป็นจริงอย่างไรในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว
อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ ,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ทั้งในสมณพราหมณ์ เทพยดา มนุษย์
ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ ,ก็แลปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว
อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ ,ว่า การพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ ,พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ ,พระภิกษุปัญจวัคคีย์ก็มีใจยินดีเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน ,ก็แลเมื่อไวยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่
อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ,จักษุในธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีอายุโกณทัญญะ
“ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ” ,ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา”
ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ,ก็เมื่อธรรมจักรอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว
ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ,เหล่าภูมิเทวดาก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า
เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ ,ว่า นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้
ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ,เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ,เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ,เทพเจ้าเหล่าชั้นยามาได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ,เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ,เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ,เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตดีได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ,พรหมเจ้าที่เกิดในชั้นพรหมได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่นขึ้น
“เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ” ,”ว่า นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้ดังนี้ ฯ”
อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ ,โดยขณะหนึ่งครู่หนึ่งนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ ฯ
อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ ,ทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป
อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ ,ทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก
อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ ,ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ
อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ ,ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า
อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ ,โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ
อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ “อัญญาโกณทัญโญ” เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ ,เพราะเหตุนั้น นามว่า “อัญญาโกณทัญญะ” นี้นั่นเทียว ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้แล ฯ
อานิสงส์ของการสวดมนต์ บทสวดธรรมจักร
สวดมนต์ บทสวดธรรมจักร ช่วยเพิ่มความอดทน การสวดมนต์ต้องใช้ความอดทน เพื่อเอาชนะอาการปวดเมื่อย ของร่างกาย ผู้สวดมนต์จะนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ทำให้ฝึกความอดทน ยิ่งสวดมนต์บ่อย ความอดทนก็จะมีมากยิ่งขึ้น
สวดมนต์บทสวดธรรมจักรแล้วสบายใจ เข้าใจชีวิตมากขึ้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา เป็นเหตุแห่งทุกข์ เมื่อเข้าใจ อริยสัจ 4 อย่างถ่องแท้แล้ว ความทุกข์ ก็น้อยลง ความเคลียด ก็ลดลงตามไปด้วย
สวดมนต์บทสวดธรรมจักรแล้วเข้าใจในหลักการปฎิบัติ 8 ประการ เพื่อนำไปสู่หนทางดับทุกข์ ช่วยลดอาการซึมเศร้าได้
สวดมนต์ บทสวดธรรมจักร แล้วรู้จักทางสายกลาง การเดินทางสายกลางไม่เคร่งคลัด หรือ หย่อนยานมากเกินไป เป็นแนวทางไปสู่ความสำเร็จในชีวิต เฉดเช่น องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เปลี่ยนแนวทาง การบำเพ็ญทุกรกิริยา มาบำเพ็ญเพียรในแนวทางสายกลาง จนแตกฉาน และ ตรัสรู้ บรรลุธรรม เป็น องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
สวดบทธรรมจักรแบบแปลแล้วเข้าใจธรรมมะมากขึ้นครับ
เข้าใจชีวิต เกิด แก่ เจ็บ ตาย มากขึ้นครับ